วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 เรื่องน่ารู้ ของ บลูมูน หรือ พระจันทร์สีน้ำเงิน



พนะจันทร์สีน้ำเงิน bluemoon เกร็ดความรู้


เกร็ดความรู้ : พระจันทร์สีน้ำเงิน หรือ Blue Moon คืออะไร?
1. ที่มาของ บลูมูน ?
เนื่องจากใน 1 ปี มี 12 เดือน และบางเดือนมี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน แต่ว่ารอบของดวงจันทร์มีเพียง 29.53059 วันต่อเดือน และใน 1 ศตวรรษจะมีทั้งหมด 1200 เดือน โดยจะเกิดดวงจันทร์เต็มดวงได้ถึง 1236.83 ครั้ง แต่จะเป็นบลูมูนแค่ 36.83 ครั้ง เฉลี่ยแล้วประมาณ 2.72 ปีต่อครั้ง หรือประมาณ 3% ของฟูลมูน จะเป็นบลูมูน
2. การเกิด บลูมูน ?
ปีละ 2 ครั้งในทุก ๆ 19 ปี ซึ่งปีล่าสุดที่เกิดบลูมูน 2 ครั้งซ้อนในหนึ่งปี (Double Blue Moons) ก็คือปี พ.ศ. 2542 และถัดไปคือปี พ.ศ. 2561 นานไปยาวๆเลยคะ ..
3. ”once in a blue moon” 
มีสำนวนอังกฤษเก่าแก่อยู่ประโยคนึงที่ภาษาฝรั่้งเขาพูดถึง “Blue Moon”  หรือ พระจันทร์สีน้ำเงิน ในประโยคที่ว่า  “once in a blue moon” คำ นี้ฝรั่งใช้เป็นสำนวนเปรียบเหมือน เจ้าดวงจันทร์แสงน้ำเงิน ที่นานๆ จะเกิดขึ้่นให้คนเราได้เห็นกันซักทีนึง  พอมันเห็นยากเย็นแสนเข็ญ ความหมายของภาษาฝรั่งก็คือ อะไรที่มัน  เกิดขึ้นได้ยากมาก นานๆเกิดขึ้นที หายาก หาเจอได้ยากมากสุดๆ
once     แปลว่า ครั้งเดียว เกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งครั้งเดียว  เกิดขึ้นครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
blue     แปลว่า สีน้ำเงิน สีบลู
moon  แปลว่า  พระจันทร์ ดวงจันทร์  โลกพระจันทร์ จันทรา  ถ้าภาษาอีสานบ้านเฮาเรียก อีเกิ้ง 555
พนะจันทร์สีน้ำเงิน bluemoon เกร็ดความรู้  

4.  ปรากฏการณ์ พระจันทร์สีน้ำเงิน หรือ บลูมูน ก็มีเพลงเป็นของตัวเองด้วย!
เพลง  Blue Moon  แต่งขึ้นมาโดย Richard Rodgers และ Lorenz Hart  มาตั้งแต่ปี 1933 โน่นน่ะ   มีคนร้องต่อเนื่องมากมาย ฮิตกันสุดๆ  ถ้าเพื่อนๆอยากฟังก็ลองหาดูใน ยูทูบ (Youtube) นะคะ ^^
5. ผู้ชายรู้ดี! เพลง Blue moon เป็นเพลงประจำทีมแมนซิตี้
อันนี้ ผู้ชาย คงจะรู้กันดีแน่นอน! สำหรับคนที่ชอบเล่นบอล (กีฬานะจ๊ะ!!) เชียร์บอล เพลง Blue moon นี่กลายมาเป็นเพลงประจำทีมแมนซิตี้   (Manchester City Football Club)  และเพลงนี้จะร้องกันกระหึ่มมากในสนาม เพราะเวลาแมนซิลงแข่งจะมีแฟนบอลไปเชียร์เยอะ เพราะเป็นทีมฟุตบอลขึ้นชื่อลือชาว่ามีแฟนคลับเหนียวแน่นที่สุดทีมนึงในทีม พรีเมียร์ลีก จริงอ๊ะป่าว??
6. การเกิด พระจันทร์สีน้ำเงิน หรือ บลูมูน
วันที่ เดือน ปี (พ.ศ.) เวลาสากล(UT) เวลาประเทศไทย
30 มิถุนายน 1996 (2539) 10:35 17:35
31 มกราคม 1999 (2542) 16:06 23:06
31 มีนาคม 1999 (2542) 22:49 05:49 (1 เม.ย.)
30 ธันวาคม 2001 (2544) 20:51 03:51 (31 ธ.ค.)
31 กรกฎาคม 2004(2547) 18:06 01:06 (1 ส.ค.)
30 มิถุนายน 2007 (2550) 13:50 20:50
31 ธันวาคม 2009 (2552) 19:14 02:14 (1 ม.ค.)
31 สิงหาคม 2012 (2555) 13:58 20:57

7. ข้อสังเกตง่ายๆ ว่าปีนั้น บลูมูน จะเกิดกี่ตรั้ง?
ถ้าเห็นพระจันทร์เต็มดวงก่อนวันที่ 11 มกราคม แสดงว่าปีนั้นจะมีพระจันทร์เต็มดวงมากถึง 13 ครั้ง และจะต้องมีเดือนใดเดือนหนึ่งที่มีพระจันทร์เต็มดวงซ้อนกันถึง 2 ครั้ง หรือถ้าในบางปีที่พระจันทร์เต็มดวงมีก่อน 11 มกราคมแต่ไม่ปรากฏในเดือนกุมภาพันธ์ ก็เป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็นบลูมูนถึง 2 ครั้งแบบเดือนเว้นเดือน และในเดือนกรกฎาคมที่เรากำลังยืนอยู่นี้ ก็มีคืนพระจันทร์เต็มดวงไปแล้วเมื่อต้นเดือน คือวันที่ 1 และจะมีอีกรอบเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ที่กำลังจะมาถึงนี้ และก็เข้าแก๊บของการเกิด “พระจันทร์สีน้ำเงิน” พอดิบพอดี
8. บลูมูน สีของพระจันทร์เป็นสีน้ำเงินรึเปล่า?
วันที่เกิดพระจันทร์เต็มดวงจะไม่มีผลต่อสีของดวงจันทร์ เอ๊ะยังไง? .. แม้ในวันที่ 31 ที่จะถึงนี้จะเป็นคืนบลูมูน แต่พระจันทร์ในคืนนั้นเราก็จะมองเห็นเป็นดวงกลมๆ สีเทาๆ ราวไข่มุกเหมือนในทุกๆ คืนที่ที่ผ่านมา (อ้าว !!)
ปรากฏการณ์ พระจันทร์สีน้ำเงิน

9. พระจันทร์สีน้ำเงินที่เห็นกันอยู่ทุกคืน ต่างกับ บลูมูน ยังไง?
บางทีก่อนหน้านี้ เราจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินกันอยู่แล้วทุกค่ำคืน ไม่ว่าจะเป็นเต็ม ดวง ครึ่งดวง หรือว่าค่อนดวง ยกเว้นในบางคืนที่ดวงจันทร์จะกลายเป็นสีเขียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ในปี 1883 เป็นปีที่ภูเขาไฟ “กรากาตัว” (Krakatoa) ที่อินโดนีเซียระเบิดขึ้นตูมใหญ่ราวกับทิ้งนิวเคลียร์ขนาด 100 เมกาตัน ส่งผลให้ลาวาและฝุ่นควันพุ่งกระจายออกไปไกลถึง 600 กิโลเมตรเถ้าของภูเขาไฟพวยพุ่งขึ้นสูงไปถึงชั้นบรรยากาศ นั่นจึงทำให้พระจันทร์เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    ในขี้เถ้าของภูเขาไฟกรากาเตา คลุ้งจนกลายเมฆฝุ่นซึ่งผสมด้วยอนุภาคเล็กๆ ขนาด 1 ไมครอน (1 ส่วน 1 ล้านเมตร) ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มีความกว้างมากกว่าความยาวคลื่นของแสงสีแดงกระจัดกระจาย อยู่ทั่วไปในอากาศ (ความยาวคลื่นของแสงแดงคือ 0.7 ไมครอน) ดังนั้นเมื่อแสงสีขาวที่เคยตกกระทบดวงจันทร์ก่อนส่งมาที่ดวงตาของเราต้อง ผ่านอนุภาคเหล่านี้ก่อน แสงสีแดงก็จะกระเจิงหายไป เหลือแต่เพียงแค่ 2 แสงคือ แสงสีน้ำเงินและแสงสีเขียว
พระจันทร์ยังคงเป็นสีน้ำเงินเช่นนี้อยู่อีกนานหลายปีหลังจากเกิด เหตุการณ์ครั้งนั้น เพราะมีเขม่าควันจากภูเขาไฟอีกหลายแห่ง แม้จะไม่แรงเท่ากรากาตัว แต่ก็มีส่วนทำให้ดวงจันทร์กลายเป็นสีน้ำเงินต่อๆ ไปไม่ว่าจะเป็นในปี 1983 หลังจากภูเขาไฟเอล ชิชอน (El Chichon) ในเม็กซิโกระเบิดขึ้น และก็มีรายงานว่าพบพระจันทร์สีน้ำเงินหลังจากภูเขาไฟเซ็นต์เฮเลน (St. Helens) ระเบิดในปี 1980 และภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ระเบิดในปี 1991 นอกจากฝุ่นควันจากปล่องภูเขาไฟแล้ว ไฟป่าก็มีส่วนพ่นควันที่มีอนุภาคเหล่า นี้ออกมา ทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินได้เช่นกัน
ทั้งนี้ ได้มีการคาดการณ์ว่าทางทิศตะวันตกของสหรัฐจะเกิดไฟป่าขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ และถ้าไฟโหมหนักมากพอที่จะเกิดฝุ่นควันจำนวนมาก พร้อมๆ กับมีอนุภาคขนาด 1 ไมครอนปนอยู่พวกเราก็จะสามารถเห็นดวงจันทร์เป็นสีน้ำเงินสมใจ
พนะจันทร์สีน้ำเงิน bluemoon เกร็ดความรู้  

10.  ทิศไหนเห็น บลูมูน ชัดที่สุด!
ท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้คือจุดที่จะมองเห็นดวงจันทร์แบบเต็มๆ นับเป็นโอกาสอันดีที่ หลัง เวียนเทียนอาสาฬหบูชาจบ ประมาณตี 1 นิดๆ ลองแหงนหน้าขึ้นฟ้าลุ้นกันดูว่าดวงเดือนกลางเวหาจะกลายเป็นสีอะไร เผื่อว่าสายตาจะได้บันทึกภาพแห่งความทรงจำ “ครั้งหนึ่งกับพระจันทร์สีน้ำเงิน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น