วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Salar de Uyuni ทะเลเกลือ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


Salar de Uyuni ทะเลเกลือ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก




              Salar de Uyuni เป็น ทะเลเกลือ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ โบลิเวีย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเล 3,500 เมตร ตามตำนานจากปากคนท้องถิ่น เล่าว่า ทะเลเกลือ Salar de Uyuni เกิดจากน้ำตาอันพรั่งพรูผสานกับน้ำนมที่หลั่งรินของนางยักษี Tunupa ที่ร้องไห้ขณะให้นมลูก หลังจากถูก Kushku ผู้เป็นสามีทิ้งไป ทะเลเกลือ แห่งนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าSalar de Tunupa
สีขาวละลานตาของ เม็ดเกลือ ตัดกับ สีฟ้าใสของนภา เกิดเป็นภาพสวยงามจับตา โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน มวลทรายปกคลุมทั่วผืนน้ำ เปรียบได้กับกระจกบานใหญ่ส่องแสงระยิบระยับ วาววับสะท้อนมนต์เสน่ห์แห่ง ทะเลเกลือ


ทะเลเกลือ Salar de Uyun







ทึ่ง! ปรากฏการณ์ทะเลโฟม ชายฝั่งออสเตรเลีย


ทึ่ง! ปรากฏการณ์ทะเลโฟม ชายฝั่งออสเตรเลีย



          เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 เว็บไซต์เดลิเมลของอังกฤษ รายงานว่า เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่าทึ่งที่บริเวณชายฝั่งเมืองเลอเน ในรัฐวิคตอเรีย ของประเทศออสเตรเลีย หลังจากที่ระลอกคลื่นซัดเข้าฝั่งแตกเป็นฟองกระจายตัวเป็นทะเลโฟมปกคลุมพื้นที่เป็นระยะทางกว่า 5 กิโลเมตรเลยทีเดียว และแน่นอนว่าปรากฏการณ์ทะเลโฟมได้ดึงดูดสายตาของนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนล้วนแล้วแต่อดใจไม่ไหวที่จะมาดำผุดดำว่ายกันอย่างสนุกสนานในทะเลโฟมแห่งนี้

            สำหรับปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้เกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และถูกบันทึกภาพโดย อเล็กซ์ คลีแลนด์ ชาวบ้านในเมืองเลอเนและเพื่อน ๆ อีก 2 คน ซึ่งเขาเล่าว่า "มันแปลกประหลาดมาก ทั้งนักท่องเที่ยวและชาวบ้านถึงกับต้องหยุดดูและพากันถ่ายรูปเป็นที่ระลึก"

            ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ทะเลโฟมจะพบเห็นไม่บ่อยครั้งนัก หลายปีถึงจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง โดยเกิดจากภาวะฝนที่ตกลงมาอย่างหนักได้พัดพาอินทรียวัตถุไหลลงสู่ทะเล และถูกคลื่นเขย่าจนเป็นฟอง ก่อนซัดถาโถมกลับคืนสู่ฝั่ง

            นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังได้อธิบายว่า ฟองโฟมเหล่านี้ไม่ได้เกิดสิ่งสวยงาม แต่มันเกิดจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น ทำให้ทะเลสกปรก, เกิดจากเกลือ, เกิดจากปฎิกิริยาทางเคมี, การเน่าเปื่อยของซากพืช ซากสัตว์ในทะเล ปลา ที่เกิดจากน้ำเสียที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เมื่อทุกอย่างมารวมตัวกันด้วยส่วนผสมที่ลงตัว และมีคลื่นที่เคลื่อนตัวแล้วม้วนตัวลงก็จะทำให้เกิดฟองซึ่งถูกพัดออกมาสะสมอยู่ที่ริมชายหาด

            อื้อหือ...หากนักท่องเที่ยวได้ฟังข้อเท็จจริงแบบนี้แล้ว ก็ไม่รู้ว่ายังจะกล้าลงไปว่ายกันอีกไหมเนี่ย

ปรากฏการณ์ทะเลโฟม ชายฝั่งออสเตรเลีย


ปรากฏการณ์ทะเลโฟม ชายฝั่งออสเตรเลีย

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กินเม็ดบัวป้องกันมะเร็งตับ


กินเม็ดบัวป้องกันมะเร็งตับ



            
            แหล่งโปรตีนเช่นเดียวกับการกินถั่วเหลือง ที่ธัญพืชพื้นบ้านชนิดนี้สร้างความฮือฮาให้ชาวโลกคือ มีการวิจัยพบว่า เม็ดบัวมีสารแอนติออกซิแดนต์ในปริมาณสูง ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะและผิวพรรณ ป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ


เม็ดบัว

          เม็ดบัว  มีประโยชน์ทางยาสูงมาก แพทย์แผนไทย แนะนำว่า ช่วยบำรุงกำลัง แก้โรคข้อต่างๆ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ส่วนแพทย์แผนจีนบอกว่า ช่วยบำรุงไต ม้าม หัวใจ และตับซึ่งตรงกับงานวิจัยในต่างประเทศที่ระบุว่า
      “สารแอนติออกซิแดนต์จะช่วยปกป้องและบำรุงตับ โดยเฉพาะตับที่ต้องขับสารแอฟลาท็อกซิน(Aflatoxin) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับออกจากร่างกาย การกินเม็ดบัวจึงสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้”
เม็ดบัวไทย-จีน ความเหมือนที่แตกต่าง
      การเลือกกิน   เม็ดบัวส่วนใหญ่ที่เราเห็นทั่วไป จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนซึ่งจะมีเมล็ดขนาดใหญ่ ผ่านการกะเทาะเปลือก ดึงดีบัว(ต้นอ่อนที่ฝังอยู่กลางเมล็ดมีสีเขียวเข้ม)ออก และอบแห้งแล้ว
      ส่วนเม็ดบัวไทยนั้นไม่ค่อยพบวางจำหน่ายในท้องตลาด เนื่องจากมีเมล็ดเล็ก จึงไม่เป็นที่นิยม แต่จากผลการวิจัยของ อาจารย์ปริญดา ที่ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์ในเม็ดบัวไทยและจีนพบว่า เม็ดบัวไทยมีปริมาณสารแอนติออกซิแดนต์สูงกว่าเม็ดบัวจีน 5-6 เท่า
      อาจารย์ปริญดาจึงแนะนำว่า ถ้าต้องการให้ร่างกายได้รับสารแอนติออกซิแดนต์ปริมาณสูงควรเลือกกินเม็ดบัวไทยดีกว่า โดยเฉพาะเม็ดบัวไทยสด


ดีเม็ดบัว


          วิธีกิน  คือ ลอกเปลือกออกจากเมล็ด โดยไม่ดึงเยื่อหุ้มเมล็ดและดีบัวออก กินสดๆทั้งเมล็ด จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านมะเร็งซึ่งอยู่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ด และดีบัวในปริมาณสูง
      ส่วนชนิดอบแห้งนั้น เรานำมาทำอาหารคาวหวานได้หลากหลาย ที่คุ้นเคยกันดี คือ น้ำอาร์ซี เม็ดบัวต้มน้ำตาลทรายแดง ผสมในเต้าฮวย หรือเต้าทึง ข้าวอบใบบัว เป็นต้น


ส่วนเคล็ดลับการเลือกซื้อให้ได้ของสดใหม่ คุณภาพดีมีดังนี้


ชนิดอบแห้ง 

เม็ดบัวอบแห้ง

  • ควรเลือกเมล็ดที่มีสีเหลืองนวล ถ้ามีสีเหลืองเข้ม แสดงว่าเป็นเม็ดบัวเก่าที่เก็บไว้นานแล้ว เมล็ดไม่แตกหัก และไม่มีฝุ่นละอองปนเปื้อน
  • ขั้วเมล็ดไม่ดำคล้ำ เพราะจะเป็นเมล็ดที่เก็บไว้นานแล้ว
  • ไม่มีกลิ่นสาบหรือเหม็นหื่น

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555


Agro-ecological zoning for the entire state of Punjab was carried out using modern tools such as remote sensing and geographical
information system. The main input parameters based on which zoning was done were annual average temperature, length of growing
period (LGP), biomass and soil texture. Initially, spatial database for temperature, LGP, biomass and soil texture were generated in GIS
domain. Thermal and LGP zones were demarcated using meteorological data of 20 stations of Punjab and its surrounding states. Then
biomass zones were derived from 10-day composite satellite data of SPOT-vegetation sensor. This zoning approach resulted into 5, 7, 3
and 9 zones for temperature, LGP, biomass and soil texture, respectively in GIS environment. Those newly drawn zones reflect that the
average annual temperature of the state varies from 21-26oC, with LGP ranging from < 60 to 180 days. Temperature and LGP variation in
the entire state depicted a reverse trend, having maximum temperature in south-western part with lowest LGP while lowest temperature
being recorded in the northern most parts with highest LGP. On the basis of NDVI value, the entire state was differentiated into moderate,
good and excellent biomass zones. Soil texture varies from fine loamy to sandy soils across the state. Overlaying of thermal and LGP
layers resulted into 7 thermal-LGP zones and when this layer was overlaid on biomass and soil textural layers in spatial domain following
logical combinations, the resultant layer was agro-ecological zones. In total 46 zones were categorized in ZBS format where Z, B and S
represented thermal-LGP, biomass and soil texture zones, respectively.

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้าน ครั้งที่ 1


การบ้าน  ครั้งที่ 1

Spatial Distribution  การกระจายเชิงพื้นที่

          เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ จะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบิเวณพื้นที่ต่างๆ





Spatial Differentiation  ความแตกต่างเชิงพื้นที่

        ในพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน พื้นที่แต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันในหลายประการ อาจเป็นสิ่งแวดล้อม พื้นที่สูง-ตำของแต่ละบริเวณนั่นๆ




Spatial Diffusion      การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่

        เป็นการกระจายจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง อาจจะเป็นการอพยพย้ายถิ่นฐาน หรือมีการกระจายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ






Spatial Interaction  การปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่

           พื้นที่ที่ทำกิจกรรมจะสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นและพื้นที่นั้นๆ ในแต่ละส่วนของกิจรรมจะแยกออกตามเขตพื้นที่ของตัวเองในพื้นที่แต่ละส่วน





Spatial Temporary    ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
           
            ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน





หมายเหตุ
   ทฤษฏีทั้ง 5 นี้ มีความสัมพันธ์กันอย่างมากจะขาดทฤษฏีใดไม่ได้





ประเภทของป่า


  ประเภทของป่า


ในประเทศไทยเราสามารถแบ่งประเภทของป่าออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันได้แก่
  • ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ป่าประเภทนี้มีประมาณ 30% ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 4 ชนิด ดังนี้
    • ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical Evergreen Forest)
    • ป่าสน (Coniferous Forest)
    • ป่าพรุ (Swamp Forest)
    • ป่าชายหาด (Beach Forest)
  • ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ
    • ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
    • ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest)
    • ป่าหญ้า (Savanna Forest)

  ป่าไม่ผลัดใบ   (Evergreen Forest) 
   
   1.ป่าดิบเมืองร้อน    (Tropical evergreen forest)
  
      เป็นป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ ป่าดิบเมืองร้อนจะเกิดขึ้นได้ต้องมีสภาพภูมิอากาศ ค่อนข้างชื้นและฝนตกชุก ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมอย่างมาก แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ มี 3 ประเภท

ป่าดิบเมืองร้อน
1.1 ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest)
ป่าดงดิบชื้นในประเทศไทยมีการกระจายส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศ 
1.2 ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest)
ป่าดงดิบแล้งของเมืองไทยพบกระจายตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัยจากจังหวัดชุมพรขึ้นมาทางเหนือ ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย
1.3 ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)ป่าดงดิบเขาอาจพบได้ในทุกภาคของประเทศในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พบตั้งแต่เขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นไปจนถึงยอดเขาสูง ๆ ในภาคเหนือ เช่น ยอดดอยอินทนนท์ ดอยปุย และยอดดอยอื่นๆ

  
      2.ป่าสน    (Coniferous forest)

      ป่าสน (Coniferous Forest) มีกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เพชรบูรณ์ และที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลยศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือสนสองใบและสนสามใบ และพวกก่อต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ

ป่าสนสองใบ
ป่าสนสามใบ
ป่าสนสามใบ
          3.  ป่าพรุ     (Swamp Forest)

         เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525) พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350 ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900 ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว (ธวัชชัย และชวลิต, 2528) แบ่งเป็นย่อย ๆ ได้ 2 ชนิด



ป่าพรุ


1.1 ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด  (Swamp forest)
         ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เช่น ตามชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูลแถบอ่าวไทยตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด และจากประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงนราธิวาส 
1.2  ป่าชายเลน (Mangrove swamp forest)
         ป่าชายเลน (Mangrove Swamp Forest) ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เช่น ตามชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูลแถบอ่าวไทยตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด


     4. ป่าชายหาด  (Beach Forest)

          ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวด ทรายและโขดหินพันธุ์ไม้จะต่างจากที่ที่น้ำท่วมถึง ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็มีสนทะเล พืชชั้นล่างก็จะมีพวกตีนนก และพันธ์ไม้เลื้อยอื่น ๆ อีกบางชนิด ถ้าเป็นกรวดหรือหิน พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวกกระทิง หูกวาง เป็นต้น

ป่าชายหาด

  ป่าผลัดใบ    (Deciduous Forest) 

     1.  ป่าเบญจพรรณ   (Mixed Deciduous Forest)
    
        ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้ง การกระจายของป่าเบญจพรรณในประเทศไทย พบในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน ครอบคลุมต่ำลงไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนบน มีปรากฏที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50 เมตร ถึง 800 เมตร หรือสุงกว่านี้ในบางจุด

ป่าเบญจพรรณ
       2.  ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง    (Deciduous Dipterocarp Forest)
         

              พบขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง ฤดูแล้งจะผลัดใบ และมีไฟป่าเป็นประจำ ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ แต่อาจแคบกว่าเล็กน้อยทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง มีปรากฏตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีขึ้นไปจนถึงเหนือสุดในจังหวัดเชียงราย ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ปรากฏสลับกันไปกับป่าเบญจพรรณ ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งจัด กักก็บน้ำได้เลว เช่น บนสันเนิน พื้นที่ราบที่เป็นทรายจัด หรือบนดินลูกรังที่มีชั้นของลูกรังตื้น ตั้งแต่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร

ป่าแดง ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง
         3. ป่าหญ้า  (Savanna Forest)
         เกิดจากการทำลายสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ดินมีความเสื่อมโทรม มีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วประเทศในบริเวณที่ป่าถูกทำลายและเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี


ป่าหญ้า



วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมในประเทศไทย


การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลสำรวจระยะไกล
เพื่อการประเมินความเสี่ยงจากน้ำท่วมในประเทศไทย : กรณีศึกษาในลุ่มแม่น้ำป่าสัก
Zoom ImageComing Soon.Zoom Image
1. แผนที่จำลองลักษณะภูมิประเทศ
ของประเทศไทย
2. แผนที่จำลองลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก
3. ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Zoom ImageZoom ImageZoom Image
4. ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณ ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
และภาคตะวันออก ของประเทศไทย
5. แบบจำลองลักษณะภูมิประเทศสามมิติซ้อนทับด้วย
ข้อมูลดาวเทียม Landsat7 บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก
6. แผนที่จำลองลักษณะภูมิประเทศของลุ่มแม่น้ำป่าสัก
2 มิติ และ 3 มิติ ที่ซ้อนทับด้วยภาพดาวเทียม
Zoom ImageZoom ImageZoom Image
7. แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
8. แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2545
9. แผนที่แสดงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2545
Zoom ImageZoom ImageZoom Image
10. แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2545
11. แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วมและผลกระทบ
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสัก
ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2545
12. แผนที่คาดการณ์พื้นที่น้ำท่วมและ ผลกระทบ
ที่เกิดขึ้น กรณีที่ระดับน้ำสูงขึ้นจาก
วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2545 อีก 1.5 เมตร
Zoom ImageZoom ImageZoom Image
13. แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วม
บริเวณภาคกลางตอนล่าง
ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545
14. แผนที่แสดงผลกระทบจากน้ำท่วม
บริเวณภาคกลางตอนล่าง
ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545
15. แผนที่แสดงพื้นที่น้ำท่วม
บริเวณภาคกลางตอนล่าง
ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545
Zoom Image  
16.แผนที่แสดงผลกระทบจากน้ำท่วม
บริเวณภาคกลางตอนล่าง
ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545